ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้

calendar

บุญกฐิน


บุญกฐิน

ผ้าที่ใช้สะดึงเป็นกรอบขึงเย็บจีวร เรียกกันว่าผ้ากฐิน มีกำหนดเวลาทำถวายเพียง ๑เดือน คือตั้งแต่แรม ๑ค่ำ เดือน๑๑ ถึงวันเพ็ญ เดือน ๑๒ เพราะมีกำหนดทำในระหว่างเดือน ๑๒ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบุญเดือนสิบสอง
มีเรื่องเล่าว่า พระภิกษุชาวเมืองปาฐา ๓๐ รูป พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ไปไม่ทันวันเข้าพรรษา จึงพักจำพรรษาที่เมืองสาเกต ออกพรรษาแล้วพากันเดินกรำฝนกรำแดด มีจีวรเปียกชุ่มไปด้วยน้ำฝน พอไปถึงแล้วก็เข้าเฝ้า พระองค์ทรงเห็นความลำลากของภิกษุเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตให้รับผ้ากฐินได้
ฝ่ายนางวิสาขามหาอุบาสิกา ครั้นทราบพระพุทธประสงค์แล้วก็นำผ้ากฐินไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน นางเป็นคนแรกที่ถวายผ้ากฐิน การทำบุญกฐินจึงถือเป็นประเพณีตลอดมาจนทุกวันนี้
พิธีทำ ผู้มีจิตศรัทธาจะถวายกฐิน ณ วัดใดก็ตาม ให้เขียนสลาก(ใบจอง) ติดไว้ผนังโบสถ์บอกชื่อตัว ชื่อสกุล ตำแหน่งและที่อยู่ของตนให้ชัดเจน เพื่อมิให้ผู้อื่นไปจองทับ เพราะในปีหนึ่งวัดจะรับกฐินได้เพียงกองเดียว เมื่อจองแล้วก็จัดหาเครื่องบริขารและบริวารกฐินไว้ บอกญาติพี่น้องให้มาร่วมบุญถึงวันงานก็นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ฟังเทศน์ ตกกลางคืน ก็มีหมอลำเสพงันตลอดทั้งคืน รุ่งเช้าถวายอาหารบิณฑบาตแล้วแห่กฐินไปทอดที่วัด แห่รอบขวาศาลาโรงธรรม ๓ รอบ แล้วนำกฐินไปรวมไว้ที่ศาลาโรงธรรม พระสงฆ์จะระรับกฐินอยู่ที่นั้น หัวหน้าจะนำไหว้พระรับศีลว่าคำถวายกฐิน แล้วยกผ้ากฐินไปถวาย พระสงฆ์รับแล้วถ้าเป็นผ้าสำเร็จรูปคือไม่ต้องตัดเย็บย้อม พระสงฆ์รับแล้วจะทำการอุปโลกน์ ยกให้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นผู้รับ ต่อจากนั้นยกผ้าไปถวาย พระภิกษุจะทำการอนุโมทนาเป็นอันเสร็จพิธี จากนั้นพระสงฆ์จะนำผ้ากฐินไปในโบสถ์ เพื่อทำการกรานและอนุโมทนากฐิน เป็นอันเสร็จพิธีฝ่ายผู้รับ
แต่ถ้าผ้ากฐินจะต้องตัดเย็บย้อมก่อน ครั้นพระสงฆ์รับแล้วท่านจะอนุโมทนา แล้วไปทำพิธีอุปโลกน์ในโบสถ์ จึงตัดเย็บย้อมจีวร แล้วทำกรานกฐินและอนุโมทนากฐินภายหลัง เป็นอันเสร็จพิธีฝ่ายผู้รับ
เนื่องจากกฐินเป็นพุทธบัญญัติ ผู้ถวายกฐินจึงได้บุญกุศลแรงผู้รับก็ได้อานิสงส์มาก การทำแต่ละอย่างต้องทำให้ถูกต้อง หากทำไม่ถูกต้องแทนที่จะได้บุญกลับเป็นบาปแทน จึงจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับบุญกฐินนี้
การจอง กฐินมี ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ จุลกฐินและมหากฐิน จุลกฐินเป็นกฐินเล็ก (หรือกฐินแล่น) มหากฐินเป็นกฐินใหญ่ จุลกฐิน ทำให้เสร็จในวันเดียวเรื่อแต่การปั่นด้ายทอผ้า เย็บ ย้อมและถวาย ต้องทำให้เสร็จในวันเดียว กฐินชนิดนี้นานๆ จึงจะมีคนทำ มหากฐิน เป็นกฐินที่มีบริขาร บริวารมาก มีเวลาทำมาก มีคนนิยมทำมาก เพราะถือว่า ได้บุญกุศลมาก
ผ้ากฐินต้องทำให้ได้ขนาด สำหรับผ้าสบงให้ยาว ๖ศอก กว่าง๒ ศอก ผ้าจีวรและสังฆาฏิ ยาว ๖ ศอก กว้าง๔ ศอกถ้าผู้รับเล็กให้ลดขนาดลงตามส่วน
ผ้าที่ควรทำเป็นผ้ากฐินต้องเป็น ๑ ผ้าใหม่ ๒ ผ้ากลางเก่ากลางใหม่ ๓ ผ้าเก่า ๔ ผาบังสุกุล ๕ ผ้าตกตามร้านตลาด ส่วนผ้าที่ไม่ควรทำผ้ากฐิน คือ ๑ ผ้ายืมเขามา ๒ ผ้าทำนิมิตได้มา ๓ ผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา ๔ ผ้าเป็นนิสสังคคีย์ ๕ ผ้าที่ลักขโมยเขามาเป็นต้น
บริขาร ๘ เป็นบริขารที่จำเป็นขาดไม่ได้ คือ ๑ บาตร ๒ ผ้าสังฆาฏิ ๓ ผ้าจีวร ๔ผ้าสบง ๕ มีดโกน ๖ เข็ม ๗ ผ้าประคตเอว ๘ ผ้ากรองน้ำ ส่วนบริขารได้แก่เครื่องใช้สอย เช่นผ้าปูนั่ง ผ้าอาบน้ำ ผ้าห่มหนาว เสื่อ หมอน ถ้วย โถ โอ จานเป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีก็ได้ถือว่าไม่ห้าม
ผู้มีศรัทธา จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือเทวดา มารพรหม คนใดก็ได้ ซึ่งมีบริขาร สามารถจะถวายให้ภิกษุได้รับประโยชน์ทางพระวินัยได้ ย่อมเป็นผู้ควรทอดกฐินได้ทั้งสิ้น
ภิกษุผู้จำพรรษาครบ ๓เดือน และมีจำนวนไม่ต่ำกว่า ๕ รูป ถ้าต่ำกว่าใช้ไม่ได้ แม่จะไปนิมนต์มาจากวัดอื่นก็ไม่ได้ ภิกษุผู้ควรรับผ้าองค์กฐิน ได้แก่พระเถระให้ผู้ใหญ่ในสงฆ์ ๑ เป็นผู้มีจีวรเก่ากว่าเพื่อน ๑ เป็นผู้ฉลาดสามารถที่จะทำกรานกฐินให้ถูกต้องได้๑ ผู้ประกอบด้วยลักษณะ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง สมควรให้รับผ้าองค์กฐิน
การทอดกฐิน การถวายกฐินไม่เหมือนถวายทานอย่างอื่น ผู้ถวายจะพอใจในภิกษุรูปใด จะยกถวายให้รูปนั้นไม่ได้ ต้องมอบให้เป็นหน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ท่านจะให้ใครท่านจะอุปโลกน์ให้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันจึงจะทอดให้ภิกษุองค์นั้นได้

คำอุปโลกน์กฐิน แบบ 2 รูป

รูปที่๑.
ผ้ากฐินทานกับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ เป็นของ.................พร้อมด้วย.....................ผู้ประกอบด้วยศรัทธา อุตสาหะพร้อมเพรียงกันนำมาถวาย แด่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสในอาวาสนี้
ก็แลผ้ากฐินทานนี้ เป็นของบริสุทธิ์ ดุจเลื่อนลอยมาโดยนภากาศแล้วแลตกลงในที่ประชุมสงฆ์ จะได้จำเพาะเจาะจงลงว่าเป็นของพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็หามิได้ มีพระบรมพุทธานุญาตไว้ว่า ให้พระสงฆ์ทั้งปวงยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง เพื่อจะทำซึ่งกฐินนัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาต และมีคำพระอรรถกถาจารย์ ผู้รู้พระบรมพุทธาธิบายสังวรรณนาไว้ว่า ภิกษุรูปใดประกอบด้วยศีลสุตตาธิคุณ มีสติปัญญาสามารถ รู้ธรรม ๘ประการ มีบุพกิจ เป็นต้น ภิกษุรูปนั้นจึงสมควร เพื่อจะกระทำกฐินนัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาตได้
บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งปวง จะเห็นสมควรแก่ภิกษุรูปใด จงพร้อมกันยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปนั้น เทอญ (ไม่ต้องสาธุ)
รูปที่ ๒.
ผ้ากฐินทาน กับผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นสมควรแก่....................เป็นผู้มีสติปัญญาสามารถ เพื่อกระทำกฐินนัตถารกิจให้ถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้ ถ้าพระภิกษุรูปใดเห็นไม่สมควรจึงทักท้วงขึ้นในท่ามกลางระหว่างสงฆ์ (หยุดนิดนึง) ถ้าเห็นสมควรแล้วไซร้จงให้สัททญัญญาสาธุการะขึ้นให้พร้อมกันเทอญ
(สาธุ)

เมื่อว่าคำอุปโลกน์เสร็จแล้ว จะทำการสวดญัตติต่อพระสงฆ์นั่งให้ได้หัตถบาส วางผ้าไว้ตรงหน้า ภิกษุสองรูปสวดญัตติ
คำสวดกฐิน
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง อุปปันนัง ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ อิมัง กะฐินะทุสสัง อายัสสะมะโต (อิตถันนามัสสะ) ทะเทยยะ, กะฐินัง อัตถะริตุง, เอสา ญัตติ,
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง อุปปันนัง, สังโฆ อิมัง กะฐินะทุสสัง อายัสสะมะโต (อิตถันนามัสสะ), เทติ, กะฐินัง อัตถะริตุง, ยัสสายัสสะมะโต ขะมะติ, อิมัสสะ กะฐินะทุสสัสสะ, อายัสสะมะโต (อิตถันนามัสสะ), ทานัง กะฐินัง อัตถะริตุง, โส ตุณณะหัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ, โส ภาเสยยะ
ทินนัง อิทัง สังเฆนะ, กะฐินะทุสสัง อายัสสะมะโต (อิตถันนามัสสะ), กะฐินัง อัตถะริตุง, ขะมะติ สังฆัสสะ ตัสมา ตุณณะหี เอวะเมตัง, ธาระยามิ
ทินนังอิทัง สังเฆนะ, กะฐินะทุสสัง อายัสสะมะโต (อิตถันนามัสสะ), กะฐินัง อัตถะริตุง, ขะมะติ สังฆัสสะ ตัสมา ตุณณะหี เอวะเมตัง, ธาระยามิ
ทินนังอิทัง สังเฆนะ, กะฐินะทุสสัง อายัสสะมะโต (อิตถันนามัสสะ), กะฐินัง อัตถะริตุง, ขะมะติ สังฆัสสะ ตัสมา ตุณณะหี เอวะเมตัง, ธาระยามิ
(ในวงเล็บ อิตถันนามัสสะ ให้ใส่ชื่อผู้ครองกฐินแทน) ถ้าจะเปลี่ยน สมมุติผู้รับฉายาว่า สุวัณโณ ก็เปลี่ยนเป็น สุวัณณัสสะ ภิกขุโน ถ้าผ้ายังมิได้ตัดก็เอาไปตัดแล้วเย็บย้อมให้แห้งแล้วนำมากราน ถ้าเป็นผ้าสำเร็จรูปพอสวดญัตติแล้วก็กรานกฐินต่อไปทีเดียว
เมื่อผ้าพร้อมแล้ว ภิกษุผู้จะรับกฐิน กระทำการถอนผ้าเก่าทั้งหมด แล้วพินทุและอธิฐานผ้าใหม่ทุกตัว จะกรานสบง จีวร หรือสังฆาฏิตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ ให้กรานเพียงตัวเดียว ถ้าเป็นผ้าสำเร็จรูปกรานสังฆาฏิก็ได้ ถ้าเป็นผ้าตัดใหม่ ใช้ตัดผ้าสบง เพราะสบง ตัด เย็บ ย้อมง่ายกว่า เวลากรานก็เอาผ้าสบงกราน คือ ภิกษุผู้ได้รับกฐินหันหน้ามายังสงฆ์ ว่า นะโม ๓ จบ แล้วกรานสบงว่า อิมินา อันตะระวาสเกนะ กะฐินัง อัตถะรามิ ๓ หน เป็นอันเสร็จพิธีกราน ต่อไปว่า คำอนุโมทนา
ภิกษุผู้รับกฐินเป็นผู้นำว่า นะโม ๓ จบ พร้อมกัน เสร็จแล้วผู้รับกฐินหันหน้าลงมายังสงฆ์ กล่าวคำอนุโมทนาว่า อัตถะตัง อาวุโส สังฆัสสะ กะฐินัง ธัมมิโก กะฐินัตถาโร อะนุโมทะถะ ว่า ๓ จบ แล้วพระสงฆ์ว่าคำอนุโมทนาพร้อมกันว่า อัตถะตัง ภันเต สังฆัสสะ กะฐินัง ธัมมิโก, กะฐินัตถาโร อนุโมทามิ ๓ หน เป็นอันเสร็จพิธีเกี่ยวแก่การกรานกฐินเพียงนี้
ภิกษุผู้รับกฐินได้อานิสงส์ ๕ คือ ๑ เที่ยวไปไม่บอกลาภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็ได้ ๒ อยู่ปราศจากไตรจีวรก็ได้ ๓ ฉันอาหารเป็นวงล้อมตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปก็ได้ ๔ เก็บจีวรได้ตามปรารถนา ๕ ลาภที่เกิดขึ้นในวัด ได้แก่ภิกษุที่จำพรรษาในวัด และได้อานิสงส์ทั้ง ๕ ยืดไปถึงเพ็ญเดือน ๔
ส่วนผู้ถวายกฐินก็ได้อานิสงส์ ๕ คือ ๑ เป็นที่รักใคร่ของคนทั้งหลาย ๒ มีเกียรติฟุ้งไปทั่วสารทิศ ๓ เป็นผู้แกล้วกล้าอาจหาญ ๔ ไม่หลงตาย ๕ ตายแล้วไปสู่สวรรค์ อันตรวาสเกน กฐินัง อัตถรามิ ๓ หน เป็นอันเสร็จ พิธีกราน ต่อไปว่าคำอนุโมทนา
ภิกษุผู้รับกฐินเป็นผู้นำว่า นะโม ๓ จบ พร้อมกัน เสร็จแล้วผู้รับกฐินหันหน้าลงมายังสงฆ์ กล่าวคำอนุโมทนาว่า อัตถตัง อาวุโส สังฆัสสกฐินัง ธัมมิโก กฐินัตถาโร อนุโมทถ ว่า ๓ จบ และพระสงฆ์ว่าคำอนุโมทนาพร้อมกันว่า อัตถตัง ภันเต สังฆัสส กฐินัง ธัมมิโก, กฐินัตถาโร อนุโมทามิ ๓ หน เป็นอันเสร็จพิธีเกี่ยวแก่การกรานกฐินเพียงนี้
ภิกษุผู้รับกฐินได้อานิสงส์ ๕ คือ ๑ เที่ยวไปไม่บอกลาภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็ได้ ๒ อยู่ปราศจากไตรจีวรก็ได้ ๓ ฉันอาหารเป็นวงล้อมตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปก็ได้ ๒ อยู่ปราศจากไตรจีวรก็ได้ ๓ ฉันอาหารเป็นวงล้อมตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปก็ได้ ๔ เก็บจีวรได้ตามปรารถนา ๕ ลาภที่เกิดขึ้นในวัด ได้แก่ภิกษุที่จำพรรษาในวัด และได้อานิสงส์ทั้ง ๕ ลาภที่เกิดขึ้นในวัด ได้แก่ภิกษุที่จำพรรษาในวัด และได้อานิสงส์ทั้ง ๕ ยื่นไปถึงเพ็ญเดือน ๔
ส่วนผู้ถวายกฐินก็ได้อานิสงส์ ๕ คือ ๑ เป็นที่รักใคร่ของคนทั้งหลาย ๒ มีเกียรติฟุ้งไปในสารทิศ ๓ เป็นผู้แกล้วกล้าอาจหาญ ๔ ไม่หลงตาย ๕ ตายแล้วไปสู่สวรรค์
โบราณแสดงอานิสงส์แห่งการทำดีไว้ว่า ได้อานิสงส์เท่านั้นเท่านี้กัป พึงทราบคำว่ากัป ท่านอุปมาไว้ว่า มีภูเขาลูกหนึ่งสูงและใหญ่ ๑ โยชน์ ร้อยปีเทพเจ้านำเอาผ้าทิพย์เนื้อละเอียดมากวาด จนภูเขาลูกนั้นราบเรียบเสมอพื้นดิน เรียกว่ากัปหนึ่ง อีกอุปมาหนึ่ง มีเมืองๆหนึ่งกว้างยาว ๔ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ ร้อยปีเทพเจ้านำเอาเมล็ดผักกาดทิ้งลง๑ เมล็ด จนเต็มเป็นกัปหนึ่ง

แหล่งที่มา

http://www.watisan.com/wizContent.asp?wizConID=700&txtmMenu_ID=7

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

0 Response to "บุญกฐิน"

แสดงความคิดเห็น